วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

พระธาตุภูเพ็ก

                         

                                        พระธาตุภูเพ็ก




               ตั้งอยู่ที่ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม ผู้ที่จะไปนมัสการพระธาตุต้องเดินขึ้นบันไดประมาณ 491 ขั้น จะถึงองค์พระธาตุซึ่งสร้างอยู่บนยอดเขาภูพาน องค์พระธาตุสร้างด้วยหินทรายบนฐานศิลาแลง มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ด้านหน้าเชื่อมต่อกับมณฑป รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชั้นที่ 1 สูงประมาณ 1.58 เมตร ชั้นที่ 2 สูงประมาณ 0.70 เมตร ตัวปราสาทสูง 7.67 เมตร ซึ่งยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ไม่มีหลังคา และยอดปราสาท เพียงแต่ทำขื่อตั้งไว้เท่านั้น พระธาตุภูเพ็กสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธศาสนสถานและมีการยกเรื่องประวัติศาสตร์ การก่อสร้างไว้ในตำนานพระอุรังคธาตุ หรือตำนานพระธาตุพนม ซึ่งกล่าวไว้ว่า พระธาตุภูเพ็กสร้างโดยกลุ่มผู้ชายเพื่อแข่งขันกับกลุ่มผู้หญิงซึ่งสร้างพระ ธาตุนารายณ์เจงเวงเพื่อรอบรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า แต่กลุ่มผู้ชายได้ยุติการสร้างเมื่อเห็นดาวเพ็กบนท้องฟ้า ซึ่งเป็นกลลวงของกลุ่มผู้หญิงผู้สร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวง ปราสาทหลังนี้จึงได้ชื่อว่า ปราสาทพระธาตุภูเพ็ก ตามชื่อดาว “เพ็ก” 

             การเดินทาง ตามทางหลวงหมายเลข 22 (สกลนคร-อุดรธานี) ห่างจากตัวเมืองสกลนครประมาณ22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปอีก 14 กิโลเมตร

ที่มาจาก : http://www.unseentourthailand.com

พระธาตุเชิงชุม


พระธาตุเชิงชุม

ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ปลายถนนเจริญเมือง ในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ฐานรูปสี่เหลี่ยม สูงประมาณ 24 เมตร ยอดฉัตรทองคำเหนือองค์พระธาตุเชิงชุมทำด้วยทองคำบริสุทธิ์มีน้ำหนัก 247 บาท มีซุ้มประตู 4 ด้าน ข้างในทึบ สร้างครอบรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าสี่พระองค์ ซึ่งหมายถึง พระกกุสันทะ พระโกนาคม พระกัสสะปะ และพระโคดม หรือพระศรีอารียเมตตรัย (คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ชาวพุทธศาสนิกชนเคารพสักการะบูชาอยู่ทุกวันนี้) สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานชัด แต่นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองสกลนครมาแต่โบราณ 


  
      ภายในวิหารใกล้พระธาตุเชิงชุม เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อองค์แสนอันศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดสกลนคร
        ทุกวันพระในตอนค่ำจะมีประชาชนไปบูชากราบไหว้พระธาตุ และหลวงพ่อองค์แสนเป็นจำนวนมาก งานประจำปีของพระธาตุเชิงชุมจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 9 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ของทุกปี (กำหนดตามจันทรคติ) 

ที่มาจาก:http://travel.thaiza.com

สถานที่ท่องเที่่ยวของจังหวัดสกลนคร


สถานที่ท่องเที่่ยวของจังหวัดสกลนคร



          สกลนคร เป็นเมืองพุทธศาสน์ พระธาตุห้าแห่ง แหล่งอารยธรรมสามพันปี ตามตำนานเล่าว่า เมืองหนองหานหลวงในอดีต หรือสกลนครในปัจจุบันนั้น สร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 ในยุคที่ขอมมีอำนาจในดินแดนนี้ ต่อมาเมื่ออิทธิพลขอมเสื่อมลง เมืองหนองหานหลวงตกไปอยู่ในความปกครองของอาณาจักรล้านช้าง เรียกชื่อเมืองว่า “เมืองเชียงใหม่หนองหาน” และเมื่อมาอยู่ในความปกครองของไทย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองสกลทวาปี” ต่อมา ในปี พ.ศ. 2373 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เปลี่ยนชื่อจากเมืองสกลทวาปี เป็น “เมืองสกลนคร” ในปัจจุบัน จังหวัดสกลนครยังได้รับการขนานนามว่าเป็น"แอ่งธรรมะแห่งอีสาน" ดังเห็นหลักฐานได้จากวัดวาอารามเก่าแก่ที่มีอยู่มากมาย แสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่มีมาตั้งแต่ครั้งอดีต เป็นถิ่นกำเนิดและพำนักของอริยสงฆ์ที่สำคัญเป็นที่เคารพบูชา ของชาวไทยหลายท่าน อาทิ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์วัน อุตตโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี เป็นต้น


ประวัติจังหวัดสกลนคร



ประวัติจังหวัดสกลนคร



                สกลนคร นครแห่งการแสวงหา ได้ชื่อว่าเป็นเมืองพุทธศาสน์ พระธาตุ 5 แห่ง แหล่งอารยธรรม 3 พันปี ตามตำนานเล่าว่า เมื่อสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 เมืองหนองหานหลวงในอดีต หรือสกลนครในปัจุบันนั้น สร้างขึ้นในยุคที่ขอมมีอำนาจในดินแดนนี้ โดยขุนขอมราชบุตรเจ้าเมืองอินทรปัฐนคร ผู้ซึ่งอพยพครอบครัวและบ่าวไพร่ชาวเขมรมาสร้างเมืองใหม่ที่ริมหนองหานหลวง มีเจ้าปกครองเรื่อยมา จนถึงสมัยพระยาสุวรรณภิงคาระเวลานั้นเกิดฝนแล้ง ข้าวยากหมากแพง เจ้าผู้ครองเมืองจึงต้องพาราษฎรอพยพกลับไปเขมร หนองหานจึงกลายเป็นเมืองร้างอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเมื่ออิทธิพลขอมเสื่อมลง เมืองหนองหานหลวงตกไปอยู่ในความปกครองของอาณาจักรล้านช้าง เรียกชื่อเมืองว่า "เมืองเชียงใหม่หนองหาน" ซึ่งแสดงว่า เมืองหนองหานมีความสัมพันธ์กับเวียงจันทน์เสมอมา ก่อนที่อิทธิพลกรุงเทพฯ จะเข้าไปถึงสกลนคร เมื่อประมาณ พ.ศ. 2321-2322

            ครั้งถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ปรากฏเจ้าเมืองชื่อ พระบรมราชา (มั่ง) เจ้าเมืองสกลทวาปี ในขณะนั้นไปเข้าข้างเจ้าอนุวงศ์ ซึ่งเป็นกบฏยกทัพเข้ามากวาดต้อนผู้คนทางภาคอีสาน พระบรมราชา (มั่ง) เข้าข้างเจ้าอนุวงศ์ อพยพครอบครัวไปอยู่ที่เมืองมหาชัยก่องแก้ว เหลือแต่กรรมการเมืองผู้น้อยทิ้งไว้เฝ้าเมือง ต่อมา พ.ศ. 2373 โปรดเกล้าฯ ให้พระสุนทรราชวงศา (ปุต) เจ้าเมืองยโสธร ซึ่งทำความดีความชอบ เมื่อครั้งปราบกบฏ เจ้าอนุวงศ์มารักษาเมืองสกลทวาปี ต่อมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาประจันตประเทศวาปี และเปลี่ยนชื่อจากเมืองสกลทวาปีเป็นเมืองสกลนคร




การปกครอง


          สกลนคร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 647 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 9,605 ตร.กม. แบ่งการปกครองออกเป็น อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอกุดบาก อำเภอพรรณานิคม อำเภอวาริชภูมิ อำเภอส่องดาว อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวานรนิวาส อำเภออากาศอำนวย อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอคำตากล้า อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอเต่างอย อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอโพนนาแก้ว และกิ่งอำเภอภูพาน



อาณาเขต





ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดหนองคาย และจังหวัดนครพนม
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดนครพนม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดกาฬสินธุ์

ที่มาจาก : http://www.baanmaha.com

ต้นไม้ประจำจังหวัดสกลนคร


ต้นไม้ประจำจังหวัดสกลนค

ต้นอินทนิลน้ำ

ต้นไม้ประจำจังหวัดสกลนคร - ต้นอินทนิลน้ำ

ต้นไม้ประจำจังหวัด

สกลนคร

ชื่อพันธุ์ไม้

อินทนิลน้ำ

ชื่อสามัญ

Queen’s Flower, Queen’s Crape Myrtle, Pride of India

ชื่อวิทยาศาสตร์

Lagerstroemia speciosa Pers.

วงศ์

LYTHRACEAE

ชื่ออื่น

ฉ่วงมู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ), บางอ บะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส), บาเอ บาเย (ปัตตานี), อินทนิล (ภาคกลาง), อินทนิลน้ำ (ภาคกลาง, ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นสูง 10–15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ผิวเปลือกนอกสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมน ดอกย่อยขนาดใหญ่ กลีบดอกสีชมพู สีม่วงแกมชมพู หรือสีม่วง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ผลเป็นผลแห้ง มีขนาดใหญ่

ขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง

ถิ่นกำเนิด

ที่ราบลุ่มริมน้ำ ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบทั่วไป



ที่มาจาก: http://www.panmai.com

คำขวัญประจำจังหวัดสกลนคร




คำขวัญประจำจังหวัดสกลนคร





         ''พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน        พระตำหนักภูพานคู่เมือง     งามลือเลื่องหนองหาร

          
แลตระการปราสาทผึ้ง        

สวยสุดซึ้งสาวภูไท           ถิ่นมั่นในพุทธธรรม''